วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความเรื่อง เส้น (Line)



เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป
  ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต
  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ
  โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
        เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง
  ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2
  ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้
  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก
  ที่แตกต่างกันอีกด้วย 



ความสำคัญของเส้น
    1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
    2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง  ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
    3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
    4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
    5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ 



 ลักษณะของเส้น
    1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่น
  เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
    2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
    3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
    4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น
   จังหวะ  มีระเบียบ  ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
    5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ
  อ่อนโยน นุ่มนวล
    6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่
  หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
    7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทาง
  ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
    8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง  ขาด  หาย  ไม่ชัดเจน  ทำให้เกิดความเครียด

บทความเรื่องความเข้าใจเรื่องแสงและเงา


แสงและเงา
     ภาพและแสงเงา เป็นภาพที่เกิดจากการนำเอาแสงและเงามาประกอบภาพโดยวางตำแหน่งของแสงและเงาให้สมดุลกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดภาพที่สวยงามได้    

 1.  แสง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ        
         1)  แสงจากธรรมชาติ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากดวงจันทร์ แสงจากหิ่งห้อย เป็นต้น
         2)  แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากเทียนไข แสงจากไฟฉาย เป็นต้น 
    
2.  เงา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ  
        1)  เงาในตัวเอง คือ เงาที่เกิดขึ้นภายในตัววัตถุ
        2)  เงาตกทอด คือ เงาของวัตถุที่เกิดบนพื้นหรือพาดบนวัตถุอื่นที่รองรับ     การสังเกตแสงและเงาในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะช่วยในการเขียนภาพแสงและเงาให้มีความถูกต้องตามความเป็นจริงได้ เช่น ถ้ามีแสงสว่างมากหรือวัตถุอยู่ใกล้แสงมาก เงาจะเข้มหรือดำ แต่ถ้าแสงอ่อนหรือวัตถุอยู่ไกลจากแสงมาก เงาก็จะจางลง เป็นต้น     ความงดงามของภาพและแสงเงา เกิดจากการจัดวางวัตถุให้ได้รับแสงที่พอเหมาะ และอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดพอสมควร ดังนั้น การเขียนภาพแสงและเงาที่ดี ต้องแสดงน้ำหนักของแสงและเงาให้เหมาะสมได้สัดส่วน

  ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
    1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
    2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
    3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
    4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
    5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ 



   แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน
   แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา   แสงและเงา 
  เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่
   กับความเข้มของเแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น  
   และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง
  จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนัก
   ของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ